รายละเอียดอีบุ๊ค

  • โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

หมวดหลัก สุขภาพ-ความงาม
ผู้จัดทำ ชัยพฤกษ์ พลพวก

เนื้อหาอีบุ๊ค

โรคเบาหวาน ดูแลให้ดีจะปลอดภัย

ความรู้ทั่วไป คนไทยป่วยกันมาก โดยถือเป็นโรคยอดฮิต 1 ใน 10 ของโรคที่คุกคามคนไทยมากที่สุด โดยเกิดจากหลายปัจจัย เช่น อาหาร พฤติกรรมการใช้ชีวิต การออกกาลังกาย กรรมพันธุ์ เป็นต้น โดยสาเหตุหลักๆคือเกิดจากการทางานของ “ฮอร์โมนอินซูลิน” ผิดปกติ ซึ่งทาหน้าที่ในการนาน้าตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ต่างๆไปใช้เป็นพลังงาน ทางานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และเกิดการคั่วของน้าตาลในเส้นเลือดแดง ส่งผลให้อวัยวะต่างๆเสื่อม ทาให้เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆได้

 

ประเภทของเบาหวาน

เบาหวานประเภทที่ 1(Type 1 Diabetes) เกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินให้เพียงพอ เนื่องจากเบตาเซลล์ (beta cells) ของตับอ่อนถูกทาลายด้วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงต้องได้รับอินซูลีนด้วยการฉีดหรือใช้เครื่องปั้มอินซูลิน

 

เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เป็นเบาหวานที่พบเป็นส่วนใหญ่ เกิดจากตับอ่อนที่ยังสามารถสร้างอินซูลินได้แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ผู้ป่วยต้องมีการควบคุมอาหาร และมีการใช้ยาชนิดกินหรือใช้อินซูลินชนิดฉีด
 

เบาหวานที่เกิดระหว่างการตั้งครรภ์ หลังคลอดระดับน้าตาลในเลือดจะกลับเป็นปกติ แต่จะมีความเสี่ยง สูงในการเกิดโรคเบาหวาน โอการเกิดได้มีถึงร้อยละ 50
เบาหวานจากสาเหตุอื่นๆ เช่นโรคของตับอ่อน โรคทางพันธุกรรม ฯลฯ

 

อาการของโรคเบาหวานมีอะไรบ้าง
อาการของโรคมักเกิดขึ้นอย่างช้าๆ หรืออาจไม่ปรกฎอาการเลยก็ได้ ลักษณะอาการที่พบบ่อยๆได้แก่

 

สายตาพร่ามัว เป็นแผลเรื้อรัง
ปวดและชาตามมือและเท้า
มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง ปาก หรือกระเพาะปัสสาวะบ่อยครั้ง

ปัสสาวะมาก กระหายน้าบ่อย และมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น
ระดับน้าตาลในเลือด(พลาสมากลูโคส)ของคนปกติตอนก่อนรับประทานอาหารเช้าจะอยู่ประมาณ 70-99 มก./ดล. หลังรับประทานอาหารแล้วประมาณ 2 ชม.จะอยู่ในระดับไม่เกิน 140 มก./ดล.

การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน
1.การรับประทานอาหาร
-เลือก อาหารที่เหมาะสม มีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดประโยชน์ และความสมดุลของสารอาหารที่ร่างกายต้องการ
-เลือก อาหารที่รสไม่จัด
-ปรุงอาหารด้วยวิธีตุ้ม ตุ๋น นิ่ง อบ ยา และผัดที่ไม่มัน มากกว่าการทอด
-รับประทานผัก 3-5 ส่วนต่อวัน
-รับประทานผลไม้ 2-4 ส่วนต่อวัน
-เลิกบุหรี่และหลีกเลี่ยงจากการได้รับควันบุหรี่
-ลดการดื่มแอลกอฮอล์
2.การออกกาลังกายหรือการเคลื่อนไหวร่างกายที่กระฉับกระเฉง
ออกกาลังกายสม่าเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ เดินให้มากขึ้น ไม่อาศัยพาหนะหรือลิฟท์ ดูแลตนเองให้มีวิถีชีวิตที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย
3.การควบคุมให้น้าหนักตัวที่เหมาะสม
-ดัชนีมวลการ ไม่เกิน 23 กก/ตร.ม. โดยคานวณจากสมการ

ดัชนีมวลกาย = นน.ตัว (กก.) /ส่วนสูง(เมตร)x สวนสูง(เมตร)

-รอบเอว ชาย ควรน้อยกว่า 90ซม.หญิง ควรน้อยกว่า 80 ซม.
4.การดูแลจิตใจและอารมณ์
ทาจิตใจให้สบาย ผ่อนคลายความเครียด ทาใจเรื่องการควบคุมตนเองในการรับประทานอาหารและออกกาลังกาย
5.หมั่นตรวจสุขภาพประจาปี
6.ควบคุมความดันโลหิต

การรักษา
1.การรักษามักจะเริ่มต้นด้วยการแนะนาเรื่องควบคุมอาหาร และการออกกาลังกาย
2.ใช้ยาในการรักษาเบาหวานในกรณีที่ไม่สะดวกในการออกกาลังกาย หรือใช้การออกกาลังกายไม่ได้ผล
3.รับการตรวจตามนัดทุกครั้ง แต่เมื่อพบอาการผิดปกติควรไปตรวจที่โรงพยาบาล
4.ควรหมั่นดูแลรักษาเท้าเป็นพิเศษ ระวังอย่าให้เกิดบาดแผลหรือการอักเสบ
ผู้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
เช่น มีประวัติทางกรรมพันธุ์ เป็นเบาหวานในพี่น้อง พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย หรือเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์หรือมีบุตร น้าหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
ที่มา : สานักงานสาธารณะสุขจังหวัดพิษณุโลก